โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดตั้งขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่อง จากเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2531 ได้เกิดอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในภาคใต้ ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประชากรจำนวนมากที่ต้องไร้ที่อยู่ ที่อาศัย ที่ทำมาหากิน และมีความลำบากยากจน ยังผลให้เยาวชนขาดโอกาสในการศึกษา ดังนั้นมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัด ตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นเป็นกรณีพิเศษและเร่งด่วน เพื่อที่จะรับเด็กที่เป็นบุตรหลานของผู้ที่ประสบอุทกภัย และเด็กที่ขาดโอกาสดังกล่าวให้เข้าเรียน โดยให้พักอาศัยและกินอยู่ประจำที่โรงเรียน โดยมีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปภัมภ์ได้ร่วมบริจาคเงินในการก่อ สร้างเป็นเงิน 60 ล้านบาท และได้สร้างเป็นโรงที่ 19 ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 20 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ( บ้านควนไม้แดง ) และ พลเอกมานะ รัตนโกเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 นายบรรจง ชูสกุลชาติ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน เมื่อโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างเสร็จเป็นเรียบร้อยแล้ว พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงทำพิธีเปิดโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 30 กันยายน 2533 และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมชมโรงเรียนถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ครั้งที่ 2 วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2536 และครั้งที่ 3 วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2540 “นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ เป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้”
สภาพความเป็นอยู่
ปัจจุบันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดรับนักเรียนประเภทเด็กด้อยโอกาส ทั้งในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 แบบสหศึกษา ประเภทอยู่ประจำ ผู้บริหาร ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมีทั้งหมด 60 คน มีผู้บริหารจำนวน 4 คน โดย นายกมล สุวรรณเอกฉัตร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครู จำนวน 37 คน พนักงานราชการ จำนวน 9 คน ครูพิเศษ จำนวน 2 คน ครูทุนเสมาพัฒนาชีวิต จำนวน 1 คน ลูกจ้างโครงการคืนครูให้นักเรียน จำนวน 1 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน 6 คน ในปีการศึกษา 2553 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2553) มีนักเรียนจำนวน 601 คน ในระดับชั้นประถมศึกษาจำนวน 155 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 273 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 173 คน มีอาคารเรียนทั้งหมด 5 หลัง หอประชุม 1 หลัง โรงหุงต้ม 1 หลัง หอนอนสำหรับนักเรียนทั้งหมด 14 หลัง และบ้านพักครู
จุดเด่น
1. โรงเรียนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีคุณภาพให้แก่เด็กผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
2. โรงเรียนมีหน้าที่ปรับสภาพฟื้นฟูจิตใจ เนื่องจากนักเรียนขาดความอบอุ่น ต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน และกิจกรรมสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้
3. โรงเรียนได้รับงบประมาณ ด้านสาธารณูปโภค ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน รวมทั้งการก่อสร้างถนนคอนกรีตต่อจากของเดิมที่ยังขาดอยู่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
จุดด้อย
1. โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายตามรายวิชาที่นักเรียนต้องการเพราะมีบุคลากรจำกัด ประกอบกับสื่อวัสดุต่างๆมีไม่เพียงพอ
2. นัก เรียนมีพื้นฐานสภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย การศึกษาเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและด้านอื่นๆ ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องใช้เวลา ใช้ความรู้ ความสามารถ ร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันปัญหา
3. โรงเรียนขาดบุคลากรด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อทำหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โอกาสที่จะพัฒนา
1. เด็กผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่างทั่วถึง
2. ผู้เรียน เป็นผู้ใฝ่รู้ มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษา
3. ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. บุคคลากรครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1. เด็กผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาตามศักยภาพอย่างทั่วถึง
2. ผู้เรียน เป็นผู้ใฝ่รู้ มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานการศึกษา
3. ผู้เรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. บุคคลากรครู และบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา
โรงเรียนมีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน กลุ่มบริหารงานทั่วไป ซึ่งแต่ละกลุ่มงานมีการจัดเก็บข้อมูลดังนี้
2.1 กลุ่มบริหารงบประมาณ ได้แก่ งานการเงิน งานบัญชี และงานพัสดุ เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยเบิก จะใช้ระบบ GFMIS
2.1 กลุ่มบริหารงบประมาณ ได้แก่ งานการเงิน งานบัญชี และงานพัสดุ เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยเบิก จะใช้ระบบ GFMIS
2.2 กลุ่มบริหารงานวิชาการ งานวัดผลและประเมินผลใช้ระบบ Student 51 ในการจัดเก็บข้อมูลนักเรียน และครูจะใช้โปรแกรม Bookmark ในการกรอกคะแนนนักเรียนและตัดเกรดผลการเรียนนักเรียน
2.3 กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน จัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นหอนอน รวมทั้งมีแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนโดยให้ครูประจำหอนอนเป็นผู้รับผิดชอบ
2.4 กลุ่มบริหารงานบุคคล จัดเก็บข้อมูลบุคลากรทุกคนในโรงเรียนอยู่ในลักษณะแฟ้มรายบุคคล มีรูปภาพ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการรับราชการ เป็นต้น
2.5 กลุ่มบริหารงานทั่วไป ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศของโรงเรียน จัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน ธรรมนูญโรงเรียน แผนปฏิบัติการประจำปี การประกันคุณภาพภายใน เป็นต้น
3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
3.1 เนื่องจากทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ กำหนดให้โรงเรียนจัดตารางการเรียนการสอนตรง กลับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ นักเรียนเรียนหนังสือกับครูตู้ควบคู่ไปกับครูในโรงเรียน
3.2 นักเรียนใช้ห้องปฏิบัติ e-learning ของโรงเรียน สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ในแต่ละรายวิชา
3.3 ทางมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ กำหนดให้นักเรียนในโรงเรียนได้มีการประชุมทางไกลและ แลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ละรายวิชา ผ่านระบบ Video Conference เดือนละ 1 ครั้ง กับโรงเรียนวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์